T h e f i r s t w e b s i t e f o r v i n y l l o v e r s i n T h a i l a n d
|
Vinyl Club
Reviews
LP Shop
Acoustic
Gallery
Services
Opus3 records Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12
Tritonix Record Cleaning Fluid น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี
Accapted
|
ReviewsVCL Prestige Phono Stage Too Bright for Tube Lover.Introduction ขอแนะนำเครื่องเสียงของไทยอีกรายหนึ่งซึ่งได้ทำธุรกิจอยู่ในแวดวงเครื่องเสียงมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร เนื่องจากทางผู้ดำเนินกิจการไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์และทำการตลาดอย่างจริงจัง จึงเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่ของนักเล่นที่ชอบแสวงหาเท่านั้น Poem เป็นร้านเครื่องเสียงที่เก็บตัวอย่างเงียบๆบนชั้น 3 ของศูนย์การค้าดิโอลสยามพลาซ่า ด้านถนนบูรพา ซึ่งเดิมทีนั้นใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ของตนในชื่อ VCL แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ Poem กับผลิตภัณฑ์เหมือนชื่อร้าน เครื่องเสียงของ Poem นั้นมีอยู่หลายอย่าง ได้แก่ Pre-Amp, Amp, Integrated Amp, Phono Stage และลำโพง โดยเฉพาะลำโพงนั้นมีจุดเด่นที่ใช้ Driver คุณภาพสูงอย่าง Scanspeak, Vifa และSeas ตลอดจนการใช้ Crossover แบบ Hard-wire เช่นเดียวกับลำโพงชั้นดีโดยทั่วไป และที่สำคัญคือเป็นลำโพงแบบปิดที่หาฟังได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งผมได้สัมผัสเสียงอยู่ครู่ใหญ่รู้สึกว่าเป็นลำโพงของไทยที่ "เข้าท่า" มากทีเดียว แต่เรื่องที่จะขอนำเสนอต่อไปนี้ขอเป็นเรื่องของ VCL Phono Stage รุ่น Prestige เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องขอขอบคุณ คุณ Classical lover เป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณาให้เครื่องตัวนี้มาทดลองฟังอย่างเต็มที่ครับ
รูปแสดง ด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง Appearance EXTERIOR ตัวเครื่องมีขนาดมาตรฐานของเครื่องเสียงทั่วไป จึงทำให้สามารถวางซ้อนกับเครื่องเสียงชิ้นอื่นได้ไม่ยาก ตัวถังทำจากอลูมิเนียมอย่างหนาพิเศษ โดยขอบข้างใช้แผ่นอลูมิเนียม 2 ชิ้นดัดขึ้นรูปมาประกอบกันเป็นกรอบตัวถัง ส่วนด้านบนและด้านล่างเป็นแผ่นอลูมิเนียมวางลงในกรอบตัวถังปิดด้านบนและด้านล่าง ยึดด้วยนัทหัวเรียบไขด้วยสกรูหกเหลี่ยมเหมือนเครื่องเสียงระดับ HI-END ซึ่งยอมรับเลยว่าเป็นงานผลิตตัวถังเครื่องที่ประณีตและแข็งแรงมากสำหรับเครื่องเสียงที่ผลิตในประเทศ ด้านหน้ามีสวิทซ์เปิด / ปิดแบบกดอยู่ด้านซ้ายมือพร้อมหลอดแสดงการทำงาน ด้านหลังมีขั้ว RCA ของ input / output ชุบทอง พร้อมขั้วต่อสายดินทองเหลืองและสาย AC แบบถอดได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นงานที่ประณีตเช่นกัน
รูปแสดง กล่องครอบหม้อแปลง/วงจร INTERIOR เมื่อเปิดฝาเครื่องด้านบนจะพบกับกล่องเหล็กครอบหม้อแปลงและวงจรอีกชั้นหนึ่ง จึงต้องทำการถอดครอบกล่องเหล็กนี้ด้วยจึงจะสามารถเห็นรายละเอียดของวงจรได้ เมื่อได้เปิดครอบทั้งหมดที่กล่าวมาเรียบร้อยแล้ว วงจรที่ปรากฏให้เห็นนั้นประกอบด้วยหม้อแปลงแบบวงแหวน 1 ตัวและ Capacitor ของ ELNA ขนาด1000 uFจัดวางเป็นตับอยู่ 20 ตัวพร้อมกับวงจรประกอบอื่นๆ ซึ่งการออกแบบวงจรในลักษณะนี้จะปรากฏให้เห็นใน Phono Stage ประสิทธิภาพสูงทั่วไปโดยเฉพาะ DIY ของต่างประเทศ แต่ที่ยังติดใจสงสัยอยู่อย่างหนึ่งก็คือไม่ทราบวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบวงจร ที่ออกแบบให้หม้อแปลงและวงจรถูกครอบไว้ในกล่องเหล็กร่วมกัน ซึ่งที่พบเห็นทั่วๆไปนั้นส่วนมากจะครอบเฉพาะหม้อแปลงเพียงอย่างเดียว เพื่อป้องกันการรบกวนของสนามแม่เหล็กจากหม้อแปลง โดยบางเครื่องอาจจะแยกหม้อแปลงให้อยู่อีกตัวถังหนึ่งต่างหากไปเลย
รูปแสดง วงจรภายในเครื่องซึ่งจะเห็น Capacitor จำนวน 20 ตัว Sound เนื่องจาก Phono ตัวนี้ไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานาน จึงต้องทำการ Burn-in กันใหม่อีกครั้งโดยเปิดเครื่องต่อเนื่องกันเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเรียกกำลังวังชาให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มฟังกัน หลังจากที่้ Burn-in ได้พอสมควรแล้วจึงนำ PCL ตัวนี้มาเริ่มเล่นกับแผ่นชุด 10 to 23 (Jose Feliciano) ซึ่งเป็นเพลงอคูสติกกีต้าร์เป็นอันดับแรก ความรู้สึกแรกสัมผัสกับ PCL คือ ความเปิดโล่ง มีรายละเอียด เสียงของสายกีต้าร์ที่ขยับแต่ละเส้นนั้นได้บรรยากาศที่ถือว่าใช้ได้ทีเดียว แผ่นต่อมาผมได้หยิบเอาแผ่นชุด Hotel California (The Eagles) มาทดลองฟังความกระฉับกระเฉงดูบ้าง ปรากฎว่าไม่ค่อยเร้าใจเท่าที่ควรคือจังหวะกระชับดีแต่เบสน้อยไปหน่อยสำหรับ "Rocker" เลยหันกลับหยิบแผ่นชุด Karla Bonoff (Karla Bonoff) ต่อด้วยชุด Walking Man (James Taylor) อีกพักใหญ่ก็ได้ผลที่น่าพอใจกับเสียงร้องและดนตรีประเภทอคูสติกที่มีรายละเอียด จังหวะกระชับดีมาก แต่ข้อเสียของ PCL ตัวนี้ก็มีเช่นกัน คือ มี noise รบกวนค่อนข้างมาก เสียงแหลมโดดล้ำหน้ามากไปหน่อย อีกทั้งเป็น Phono Stage ที่มีรายละเอียดค่อนข้างสูงจึงไม่เหมาะที่จะเล่นกับแผ่นเก่านักเพราะจะฟ้องความเก่าของแผ่นด้วยเสียง "กร๊อบแกร๊บ" ให้ได้ยินชัดเจนทีเดียว รวมความได้ว่าแนวเสียงแบบนี้คงจะไม่เป็นที่ถูกใจผู้ที่ชอบเสียงเครื่องหลอดหรือคล้ายหลอด แบบ Phono Stage ของ Creek เป็นแน่นอน พอฟังจบผมเลยถือโอกาสทดลองกำลังสำรองของเครื่องโดย Turn off เครื่องแล้วสังเกตเวลาที่เครื่องจะหยุดส่งสัญญาน ปรากฏว่าใช้เวลาทั้งสิ้น 30 วินาทีพอดี ซึ่งนับได้ว่ามีกำลังพอสมควร Final Phono Stage ชื่อ PCL ในปัจจุบันนี้คงจะไม่มีจำหน่ายอีกแล้วแต่ถ้าใครสนใจก็คงจะหาซื้อได้ในชื่อ Poem ซึ่งเป็นผู้ผลิตเดียวกัน ส่วนราคานั้นเริ่มต้นจาก 6,000 บาทขึ้นไปจากรุ่นมาตรฐาน ส่วนความต้องการของลูกค้าจะมากกว่านี้ก็สามารถระบุได้โดยเพิ่มราคาตาม spec.ที่มากขึ้นได้ ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว Poem ก็น่าจะเป็นเครื่องเสียงของไทยที่ดีอีกยี่ห้อหนึ่งที่นักเล่นเครื่องเสียงสามารถเลือกได้ในรุ่นมาตรฐาน ส่วนนอกเหนือจากนี้คงจะอยู่ที่รสนิยมของแต่ละคน บ้างก็ว่าคุ้มค่าบ้างก็ว่าเสียดายเงินเก็บไว้ซื้อเครื่อง Brand name ดีกว่า โดยส่วนตัวของผมนั้นคิดว่า Phono Stage ชนิด Transistor ทำให้ดีได้ียากกว่าชนิด Tube มาก จึงขอแนะนำให้เริ่มจากรุ่นมาตรฐานสักตัวก่อนถ้าชอบก็ค่อย upgrade ขึ้นไป ถ้าไม่ชอบก็หยุดแค่นั้นเป็นประสบการณ์ ซึ่งถือเป็นความสนุกของการเล่นเครื่องเสียงครับ
จุดเด่น - ภาคจ่ายไฟกำลังสูง ตัวถังเรียบร้อย จุดด้อย - เสียงรบกวนมาก เล่นกับหัว MC ไม่ได้ Systems Luxman L 507s Integrated Amp. VPI HW-19 jr. (Battery connected) with Rega 250 (Modified) Audio Technica Cartridge ATN-110 e (MM) Nuance 1.1 Loudspeaker All cables : Transparent Music Link |
Vinyl Club The New Player Things about TT Tonearm Setup Nature of Tonearm The Cartridge Mat and Clamp LP Tips Reviews TS Audio PH1 NAD PP1 VCL RB250 Incognito Viola PH1 PHR Speaker ZA-D23 Aurora MKII LP Shop Origin Live Rega ZA Isokinetik ASR TT Accessories Audio Equipment Acoustic Room Treatment L.O.B. BassTraps Gallery His Master's Voice Friend's TT TT Collection Services Second Hand Write to us Vinyl Forum
Send mail to
musicfountain@yahoo.com with
questions or comments about this web site.
|