T h e   f i r s t   w e b s i t e   f o r   v i n y l   l o v e r s   i n   T h a i l a n d

                                                                                                

                       

HOME                           

Vinyl Club

The New Player

Things about TT

Tonearm Setup

Nature of Tonearm

The Cartridge

Mat and Clamp

LP Tips

 

Reviews

Origin Live Ultra

TS Audio PH1

NAD PP1

VCL

RB250 Incognito

Viola PH1

PHR Speaker

ZA-D23

Aurora MKII

 

LP Shop

 

 

 

 

 

 

TT Accessories

Audio Equipment

 

Acoustic

Room Treatment

L.O.B. BassTraps

 

Gallery

His Master's Voice

Friend's TT

TT Collection

 

Services

Second Hand

Write to us

Vinyl Forum

 

Opus3 records

Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12

Hercules II Installation

 

Tritonix Record

Cleaning Fluid

น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี

ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด

แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี

 

 

Accapted

 

 

 

 

Things about Turntable

เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เรารู้จักนั้นมีอะไรต่ออะไรมากกว่าการเป็นเพียงอุปกรณ์ที่มีหน้าที่หมุนแผ่นเสียงผ่านหัวเข็มเพื่อให้เกิดเสียงเท่านั้น  แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆร่วมกันอีกหลายอย่างที่มีความสำคัญ  เพื่อทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนั้นให้เสียงดนตรีที่มีคุณภาพอย่างเต็มที่  เครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวหนึ่งประกอบด้วย

รูปแสดง  ส่วนประกอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียง VPI รุ่น HW-19 jr.  

1. แท่นฐาน (Base) เป็นโครงสร้างหลักที่สำคัญที่สุดของเครื่องเล่นแผ่นเสียง  เป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ   

2.แป้นหมุน (Platter) คือ แป้นหมุนรูปวงกลมที่มีน้ำหนักในตัวเองระดับหนึ่งเพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงอยู่บนชุดลูกปืน (Bearing)

3.แผ่นพื้น (Plinth) คือ กระดานที่เป็นพื้นของแท่นฐาน 

4. ระบบขับเคลื่อน (Drive system)  คือ ระบบมอเตอร์ที่จะทำการหมุน platter ให้หมุนอย่างเที่ยงตรง

5.โครงรองรับ (Sub-chassis) คือ โครงของตัวเครื่องถัดจากแท่นฐาน  ทำหน้าที่จะยึดชิ้นส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน

6. แผ่นติดตั้งโทนอาร์ม (Armboard)  คือ แผ่นเจาะรูเพื่อติดตั้งโทนอาร์ม (Tonearm) แต่ละรุ่น

รูปแสดง  Michell Gyro SE

แต่ก็มีเครื่องเล่นแผ่นเสียงบางรุ่นบางยี่ห้อที่ไม่มีแท่นฐาน (Base) และแผ่นพื้น (Plinth)  คงมีแต่เฉพาะโครงรองรับ (Sub-chassis)เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น Michell Gyro SE เป็นต้น

 

The Base and Plinth

แท่นฐาน (Base) และแผ่นพื้น (Plinth) ของเครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นส่วนประกอบที่ส่งผลอย่างมากต่อเสียงดนตรี  เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ดีจะต้องมีแท่นฐานและแผ่นพื้นที่แน่นหนาป้้องกันแรงสั่นสะเทือนได้ดี  เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนจากภายนอกถ่ายทอดไปถึงแป้นหมุน (Platter) โทนอาร์ม (Tonearm)  อันเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวเข็มถูกรบกวนจากแรงสั่นสะเทือน  ซึ่งมาจากต้นเหตุ 4 ประการ ได้แก่

1. เสียงจากลำโพงที่ส่งแรงสั่นสะเทือนมาในรูปของคลื่นเสียงที่เรียกว่า  Acoustic Feedback

2. แรงสั่นสะเทือนจากพื้นห้องที่ส่งผ่านชั้นวางเครื่องเสียงเข้าสู่เครื่องเล่นแผ่นเสียง

3. แรงสั่นสะเทือนจากมอเตอร์ขับเคลื่อนและชุดลูกปืน (Bearing)

4. แรงสั่นสะเทือนของโทนอาร์ม  ทำให้หัวเข็มไม่สามารถแยกความถี่ของสัญญานเสียงจากแผ่นเสียงกับความถี่ของการกำทอน (Resonance) จากโทนอาร์มได้  แรงสั่นสะเทือนในลักษณะนี้จะถูกส่งไปทำการขยายสัญญานปะปนร่วมกับสัญญานเสียงดนตรี  วิศวกรที่ออกแบบเครื่องเล่นจะระมัดระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก 

Acoustic Feedback Loop

หากแท่นฐาน (Base)และแผ่นพื้น (Plinth) ของเครื่องเล่นแผ่นเสียงไม่มีความแน่นหนาแข็งแรงอย่างเพียงพอแล้ว  คลื่นเสียงจากลำโพงจะสร้างแรงสั่นสะเทือนผ่านแท่นฐาน  แผ่นพื้น  โทนอาร์ม  และหัวเข็มตามลำดับ  หัวเข็มจะแปลงแรงสั่นสะเทือนนี้เป็นสัญญานไฟฟ้า  ผ่านเครื่องขยายเสียงกลับไปสู่ลำโพงแล้วย้อนเข้ามาอีกเป็นวงรอบ  เรียกว่า Acoustic Feedback Loop อันเป็นสาเหตุที่ทำให้สัญญานเสียงดนตรีถูกรบกวน

การทดสอบว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียงมีอาการ Acoustic Feedback Loop มากน้อยเพียงใด  สามารถทำได้โดยวางหัวเข็มในร่องแผ่นเสียงบน Platter ที่หยุดนิ่ง  แล้วค่อยๆเร่งความดังวอลลุ่มขึ้นทีละน้อย  จนกระทั่งได้ยินเสียงหอนออกลำโพงให้ลดวอลลุ่มทันที  หากเกิดเสียงหอนน้อยเท่าไรหมายความว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียงนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้น  ฝาครอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียงบางรุ่นสามารถป้องกันคลื่นเสียงจากลำโพงได้ดี  แต่ฝาครอบของเครื่องบางรุ่นกลับเป็นตัวรับคลื่นเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากลำโพง  จึงจำเป็นต้องทดลองฟังในลักษณะการเล่นแบบปิดฝาครอบ เปิดฝาครอบหรือถอดฝาครอบเพื่อเปรียบเทียบหาผลการฟังที่ดีที่สุดด้วยตัวเอง

รูปแสดง  การใช้วัสดุเฉื่อย (Inertial) ในการออกแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียง

วิศวกรผู้ออกแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะออกแบบให้แท่นฐาน (Base) และแผ่นพื้น (Plinth)  ให้มีความแน่นหนาแข็งแรงเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก  ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีความเฉื่อย (Inertial) ที่สามารถซึมซับพลังงานได้ดีมาผลิตเครื่องเล่น เช่น MDF (Medium Density Fiberboard)  หินอ่อน  หรืออาคริลิค  ด้วยหลักการที่ให้พลังงานที่มากระทำต่อเครื่องเล่นถูกซึมซับด้วยคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ แล้วสลายไปโดยไม่มีอาการสั่นค้าง (Ringing)  ยกตัวอย่างให้เห็นด้วยการทดลองนำผ้าชุบน้ำมาวางบนแผ่นโลหะ  เมื่อเคาะแผ่นโลหะก็จะได้ยินเสียงทึบไม่กังวานและสั่นค้างเลย  เนื่องจากพลังงานถูกซึมซับและสลายไปอย่างรวดเร็ว  บางครั้งวิศวกรผู้ออกแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะใช้วิธีสลับชั้นวัสดุ  โดยสลับชั้นวัสดุที่มีความหนาแน่นน้อยกับวัสดุที่มีความหนาแน่นมาก  เทคนิคนี้เรียกว่า Constrained-layer Damping  ซึ่งแรงสั่นสะเทือนจะถูกสลายเมื่อผ่านเข้าไปในแต่ละ Layer ซึ่งระหว่าง Layer ของวัสดุนั้นจะเกิดอาการที่เรียกว่า Shear Strain  เป็นผลให้แรงสั่นสะเทือนเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อนแทน  บางครั้งอาจใช้แผ่นตะกั่วร่วมกับวัสดุเฉื่อย (Inertial) ชนิดอื่นๆมาใช้ผลิตแท่นฐาน (Base) แผ่นหมุน (Platter) หรือ Armboard อีกด้วย

รูปแสดง  Clearaudio Champion Level 1 ใช้อาคริลิคในการผลิต

แต่ก็ยังมีหลักการออกแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกทฤษฎีหนึ่งที่ตรงข้ามจากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น คือ การออกแบบให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงมีมวลน้อยที่สุด (Less is the best)  เพื่อที่ให้แรงสั่นสะเทือนจากภายนอกเข้าสู่ตัวเครื่องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น Rega จะมีแต่แผ่นพื้น (Plinth) โดยไม่มีแท่นฐาน (Base)  ซึ่งผู้ออกแบบเชื่อว่าถ้าตัวเครื่องเล่นมีมวล (Mass) ยิ่งน้อยเท่าไรแรงกระทำของการสั่นสะเทือนจากภายนอกก็จะมีน้อยเท่านั้น  ซึ่งเป็นแนวทฤษฎีที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน  เพราะสามารถทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงได้

 

Sprung Suspension System

รูปแสดง  ลักษณะเครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบสปริงรองรับ

เครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบสปริงรองรับ (Spring Suspension System) หมายถึงเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีแป้นหมุน (Platter) และแผ่นติดตั้งโทนอาร์ม (Armboard) อยู่บนแท่นฐานที่มีสปริงรองรับ  บ้างก็เรียกระบบ Suspened หรือ Floating

ระบบสปริงรองรับ (Spring Suspension System) มีอยู่ 3 แบบ ได้แก่

 1. The Sub-chassis on spring  คือ ระบบที่ใช้สปริงรองรับด้านล่างโครงเครื่อง  เป็นแบบที่นิยมอย่างแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน เช่น Linn Sondek LP12,  Dual 505-4 เป็นต้น

รูปแสดง  Linn Sondek LP12  ตำนานของเครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบสปริง

 2. The Sub-chassis hangs down  คือ ระบบที่ใช้สปริงห้อยโครงเครื่อง  ซึ่งเป็นอีกแบบหนึ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นกันอย่างแพร่หลายนัก  แต่ก็ยังมีอยู่ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงบางรุ่น เช่น Sota รุ่น Sapphire ซึ่ง SOTA เป็นผู้นำในการออกแบบระบบนี้  จุดเด่นของการใช้ระบบสปริงห้อยโครงเครื่องนั้น  อยู่ที่ตัวสปริงจะทิ้งตัวลงทำให้ไม่เกิดอาการโครงตัวเหมือนกับระบบสปริงรองรับ

     

รูปแสดง  ลักษณะการใช้สปริงห้อยโครงเครื่อง  และการเปรียบเทียบระหว่างระบบสปริงแบบรองรับกับสปริงแบบแขวน

3. The Sub-chassis on pillar  คือ โครงเครื่องใช้สปริงแขวนเสา  มักใช้กับเครื่องเล่นระดับสูงขนาดใหญ่ เช่น Basis Debut MK.5,  SME Model 30

รูปแสดง  Basis  Debut  MK.5  ระบบสปริงแบบโครงเครื่องแขวนเสา

การออกแบบระบบสปริงรองรับทุกแบบมีวัตถุประสงค์เดียวกันก็คือ  ป้องกันแรงสั่นสะเทือนจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น แรงสะเทือนจากรถวิ่ง  จากฝีเท้าเดินบนพื้นบ้าน  การทำงานของเครื่องปรับอากาศหรือระบบมอเตอร์อื่นๆ  โดยที่สปริงจะช่วยไม่ให้แรงสั่นสะเทือนดังกล่าวไปสู่ Platter และ tonearm  เครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบสปริงรองรับที่ตั้งอยู่ในบ้านเดี่ยวโครงสร้าง ค.ส.ล. จะมีปัญหาเรื่องแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าในอาคารหลายชั้น (Apartment)  เครื่องเล่นแผ่นเสียงระบบสปริงรองรับนี้จะต้องปรับตั้งสปริงให้มีค่าการหยุ่นตัว  ในแนวตั้งและแนวนอนแตกต่างกันเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความถี่ของการกำทอน (Resonance) ต่างกัน  อีกทั้งยังอาจใช้ร่วมกันกับวัสดุอื่นๆที่มีคุณสมบัติในการซึมซับแรงสั่นสะเทือน เช่น วัสดุจำพวกโฟมหรือยางมะตอย (Sorbothane) ซึ่งเป็นวัสดุที่คงรูปไม่เปลี่ยนแปลงภายใต้สภาวะต่างๆ  เราสามารถทดสอบประสิทธิภาพของระบบสปริงรองรับได้  โดยวางแผ่นเสียงและหัวเข็มบนแป้นหมุนที่หยุดนิ่ง  เร่งความดังตามการฟังปรกติแล้วจึงเคาะชั้นวางเครื่อง  ถ้าได้ยินเสียงเคาะผ่านลำโพงน้อยเท่าไรก็หมายความว่าระบบสปริงรองรับมีประสิทธิภาพเท่านั้น  ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับสูงนั้นแม้จะใช้ค้อนเคาะก็จะไม่มีเสียงเล็ดรอดออกมาจากลำโพงเลย  แต่ในเครื่องประสิทธิภาพต่ำเพียงแค่ใช้นิ้วเคาะเบาๆก็ได้ยินแล้ว

   

รูปแสดง  เครื่องเล่น Well Tempered Reference  ใช้วิธี Constrained layer ออกแบบแท่นฐาน

แต่ยังมีวิศวกรผู้ออกแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า  ระบบสปริงรองรับนั้นเป็นต้นเหตุของการกำทอน (Resonance) ซึ่งเกิดจากการสั่นตัวของสปริงถ่ายทอดสู่แป้นหมุน (Platter) และโทนอาร์ม (Tonearm) ตามลำดับ  จึงได้ออกแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ไม่มีสปริงขึ้นมา  โดยติดตั้งแป้นหมุน (Platter) และโทนอาร์ม (Tonearm) โดยตรงบนแท่นฐาน (Base) ซึ่งถ้าแท่นฐานมีความแน่นหนาเพียงพอก็จะสามารถป้องกันแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกไม่ให้เข้าถึงแป้นหมุนและโทนอาร์มได้  สามารถตัดปัญหาจากการกำทอน (Resonance) ของสปริงได้อย่างสิ้นเชิง  โดยบางครั้งการออกแบบแท่นฐานที่ไม่ใช้สปริงรองรับนี้อาจใช้วิธีสลับวัสดุที่มีความหนาแน่นต่างกันเป็นชั้นๆ  เพื่อให้เกิด shear constrained เรียกวิธีการนี้ว่า Constrained Layer  ซึ่งจะทำให้แรงสั่นสะเทือนที่รับถ่ายทอดเข้ามาสู้แท่นฐานเปลี่ยนรูปพลังงาน  จากพลังงานจลน์เป็นพลังงานความร้อนซึ่งได้ผลดีมากกับการสั่นสะเทือนในความถี่สูง  ซึ่งเครื่องเล่นแผ่นเสียง Well Tempered ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากด้วยการออกแบบลักษณะนี้

 

Platter and Bearing

แป้นหมุน (Platter) ไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแต่รองรับแผ่นเสียงเท่านั้นแต่ยังมีหน้าที่อีก 2 ประการ คือ

1. ทำหน้าที่เป็น Flywheel เพื่อให้มีแรงเฉื่อยทำให้หมุนได้รอบสม่ำเสมอ

2. ทำหน้าที่เป็นตัวซึมซับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นเสียงในขณะทำการเล่น

แป้นหมุน (Platter) ของเครื่องเล่นแผ่นเสียงบางรุ่นอาจมีน้ำหนักถึง 30 ปอนด์  ซึ่งจะออกแบบให้บริเวณขอบแป้นหมุนนั้นมีน้ำหนักมากกว่าส่วนอื่น  เพื่อช่วยให้มีแรงหมุนที่สม่ำเสมอและนิ่ง  ดังนั้นแป้นหมุนแบบนี้จะมีเสียงรบกวนของชุดลูกปืน (Bearing) น้อย  วัสดุที่นำมาผลิตแป้นหมุนมีหลายชนิด ได้แก่ อาคริลิค (Aclylic)  โลหะปั๊มขึ้นรูป (Stamped Metal)  อลูมิเนียมหล่อหรือกลึงขึ้นรูป (Cast and Machined Aluminum)  หรือแม้กระทั่งวัสดุประเภทเซรามิค (Ceramic)  แป้นหมุนบางแบบจะฝังก้อนโลหะไว้บริเวณขอบโดยรอบเพื่อเพิ่มน้ำหนักมวล  เป็นผลให้แป้นหมุนมีความเป็นวัสดุเฉื่อย (Inertial) ซึ่งสามารถซึมซับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นเสียงที่ส่งถึงแป้นหมุน  อันเป็นสาเหตุของการเกิดกำทอน (Resonance)

แป้นหมุน (Platter) จะติดตั้งอยู่บนชุดลูกปืน (Bearing) เพื่อให้สามารถหมุนได้อย่างสม่ำเสมอและราบเรียบโดยมีแรงเสียดทานน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้  ชุดลูกปืน (Bearing) อาจทำจากเหล็กชุบแข็ง (Chrome-hardened Steel)  ทังสเตนคาร์ไบด์ (Tungsten-Carbide)  เซอร์โคเนียม (Zirconium)  เซรามิค (Ceramic) หรือแซฟฟายร์ (Sapphire)  

ชุดลูกปืน (Bearing)  จะออกแบบอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1. Normal Bearing  คือแบบปลายเพลาแกนหมุนอยู่บนลูกปืน (ลูกปืนอยู่ข้างล่าง)

2. Invert Bearing  คือแบบปลายเพลาแกนหมุนอยู่ใต้ลูกปืน (ลูกปืนอยู่ข้างบน)

รูปแสดง  Platter แบบปลายเพลาแกนหมุนอยู่บนลูกปืน (ลูกปืนอยู่ข้างล่าง)

ไม่ว่าชุดลูกปืนจะเป็นแบบใดก็ตามคุณสมบัติของชุดลูกปืนจะต้องให้การหมุนที่เงียบและราบเรียบ  เพื่อไม่ให้ส่งแรงสั่นสะเทือนไปสู่แป้นหมุน (Platter)  ดังนั้นการผลิตชุดลูกปืนจึงจำเป็นต้องใช้ความพิถีพิถันอย่างมาก  เพื่อให้ส่วนที่สัมผัสกันราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นได้  ดังนั้นจึงมีผู้คิดประดิษฐ์ระบบ Air bearing เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความฝืดที่เกิดจากการสัมผัสของเพลากับลูกปืน  ระบบ Air bearing นี้จะใช้การอัดอากาศเข้าไปในกระบอกเพลาเพื่อยกเพลาให้ลอยขึ้นอย่างอิสระโดยไม่มีแรงเสียดทานใดๆเลย  แต่ข้อเสียก็คือมีราคาสูงและปรับตั้งยาก      


 

Vinyl Club  The New Player   Things about TT   Tonearm Setup   Nature of Tonearm   The Cartridge   Mat and Clamp   LP Tips

Reviews  TS Audio PH1   NAD PP1   VCL   RB250 Incognito   Viola PH1   PHR Speaker  ZA-D23  Aurora MKII

LP Shop  Origin Live  Rega  ZA  Isokinetik  ASR  TT Accessories   Audio Equipment  

Acoustic  Room Treatment   L.O.B. BassTraps   

Gallery  His Master's Voice   Friend's TT   TT Collection

Services  Second Hand   Write to us   Vinyl Forum

   

Send mail to  musicfountain@yahoo.com  with questions or comments about this web site.
Copyright © 2003 Music Fountain
Last modified: 23/02/55