T h e f i r s t w e b s i t e f o r v i n y l l o v e r s i n T h a i l a n d
|
Vinyl Club
Reviews
LP Shop
Acoustic
Gallery
Services
Opus3 records Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12
Tritonix Record Cleaning Fluid น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี
Accapted
|
Tonearm Setup สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเล่นแผ่นเสียงคือการปรับตั้งโทนอาร์ม
หรือ
Tonearm
Setup
ซึ่งก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักโทนอาร์มกันเสียก่อนว่ามันคืออะไร
มีความสำคัญอย่างไร
และผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายๆท่านอยากทราบถึงวิธีปรับตั้งโทนอาร์มของเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เล่นอยู่ด้วย Tonearm & Bearing
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญชิ้นหนึ่งของเครื่องเล่นแผ่นเสียง
เนื่องจากเป็นส่วนที่ติดตั้งหัวเข็มเป็นที่ร้อยผ่านของสายสัญญาณจากหัวเข็ม
รวมถึงการตั้งหัวเข็ม ตั้งน้ำหนัก
และ
Anti-skating ซึ่งจะต้องพาหัวเข็มผ่านร่องที่มีสัญญาน
ความเที่ยงตรงของอาร์มเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งเสียงดนตรีที่สมบูรณ์
เราจึงต้องให้ความสำคัญและพิถีพิถันกันเป็นพิเศษเพราะเสียงจะดีหรือไม่นั้นเริ่มจากตรงนี้เป็นอันดับแรก
อีกทั้งการปรับตั้งโทนอาร์มอย่างถูกต้องจะช่วยยืดอายุให้หัวเข็มและลดการสึกกร่อนของแผ่นเสียงได้มากทีเดียว
Tonearm แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Pivoted Tonearm คือโทนอาร์มที่มีจุดหมุนวาดอาร์มเป็นรัศมีไปตาม track ซึ่งมีจุดยึดของแกนที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของการวาดอาร์มในแนวนอนและแนวตั้งอยู่แยกกันโดยใช้ Ball bearing พบเห็นกันทั่วไปในเครื่องเล่นแผ่นเสียงหลายยี่ห้อ เช่น Rega RB 250 Graham Unify
2. Unipivoted
Tonearm
คือ
โทนอาร์มที่มีจุดหมุนวาดอาร์มเป็นรัศมีเช่นกัน
แตกต่างกันกับ
Pivoted
Tonearm
ตรงที่จุดยึดของแกนที่ควบคุมการเคลื่อนที่การวาดอาร์มในแนวนอนและแนวตั้งอยู่ที่จุดเดียวกัน
เปรียบอาร์มเหมือนกับเข็มทิศตั้งอยู่บนเดือย
สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกแนวแกน
ซ้าย ขวา
กระดกขึ้น
ลงได้อย่างอิสระ
เช่น Graham Unify Clearaudio TQ - I 2000 3. Linear Tonearm คือ โทนอาร์มที่เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องกัดร่องแผ่นเสียง การเคลื่อนที่ในลักษณะนี้ทำให้หัวเข็มได้ฉากกับจุดหมุนแผ่นเสียงตลอดเวลาตั้งแต่ ณ.บริเวณร่องริมแผ่นจนกระทั่งร่องในสุด ซึ่งเวลา playback จะย้อนรอยการบันทึกได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน เป็นอาร์มที่ไม่ต้องมี Anti-skating และไม่เกิด Error ของการวาดอาร์มเหมือนแบบ Pivoted โดยปรกติแล้วจะพบเห็นโทนอาร์มแบบนี้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับสูงเท่านั้น เช่น Clearaudio TQ-I 2000 โทนอาร์มชนิดนี้มีทั้งแบบการทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและแบบทำงานด้วยลม ส่วน Bearing ของโทนอาร์มแบบ Pivoted นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Ball bearing คือ ใช้ลูกปืนควบคุมการเคลื่อนที่ของโทนอาร์มในแนวตั้ง (Verticle Axis) และแนวนอน (Horizontal Axis) 2. Pivot bearing คือ ใช้เดือยเหล็กแหลมเป็นจุดหมุนควบคุมการเคลื่อนที่ของโทนอาร์มในทุกทิศทาง
รูปแสดง ภาพตัดภายในเปรียบเทียบระหว่าง Ball bearing (ซ้าย) และ Pivot bearing (ขวา) Effective Lenght
รูปแสดง ระยะ Effective Lenght เนื่องจากนักเล่นแผ่นเสียงส่วนใหญ่จะเล่น Pivoted Tonearm กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ดังนั้นผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะในเรื่องของการปรับตั้งโทนอาร์มชนิดนี้เพียงอย่างเดียว ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ วิธีแบบ Vernier และแบบ Static
Steps of Setup
1. ติดตั้งหัวเข็ม 2. เพิ่ม Weight ถ้าจำเป็น 3. ติดตั้ง Headshell
4. ใส่ Counterweight ท้ายโทนอาร์ม 5. ปรับโทนอาร์มให้ Balance 6. สังเกตการลอยตัว
7. หมุนแหวนไปที่ 0 8. ตั้งน้ำหนักตามต้องการ 9. ตั้ง Anti-skating
Vernier Method ใช้กับเครื่องเล่นที่ไม่มี Scale ตั้งน้ำหนักบนตุ้มท้ายอาร์ม เช่น REGA เป็นต้น 1. เริ่มจากนำเอาเครื่องเล่นออกจากกล่อง ถ้าอาร์มยังไม่มีหัวเข็มก็ไปหามาติดให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเครื่องช่วยการติดตั้งหัวเข็ม เช่น JIG ปรับตั้งหัวเข็มแถมมากับเครื่องรุ่นนั้นๆด้วยอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นแบบถอด Headshell มาเข้า JIG กันข้างนอก เช่น DUAL 505-4 หรือใช้ Protractor ช่วยติดตั้งหัวเข็มสำหรับอาร์มที่ถอด Headshell ไม่ได้ หัวเข็มบางชนิดจะมีน้ำหนักถ่วง (Weight) มากับชุด ซึ่งอาจจำเป็นต้องติดเพิ่มเข้าไปในกรณีที่ต้องการน้ำหนักมากกว่าที่ปรับตั้งได้จากเครื่อง อีกทั้งควรปรับตั้งหัวเข็ม (Alignment) ให้เรียบร้อยตั้งแต่แรกที่ติดตั้งหัวเข็มเสียเลย จะได้ไม่ต้องย้อนกลับมาทำอีกหลังจากปรับตั้งอาร์มเสร็จเรียบร้อยแล้ว 2. หลังจากติดตั้งหัวเข็มบน Headshell และปรับตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำอาร์มเข้าที่พักแล้วล๊อคไม่ให้ขยับ ตั้ง Scale กำหนดน้ำหนักกดและ Anti-skating ไว้ที่ 0 แล้วจึงนำตุ้มน้ำหนัก (Counterweight) ติดท้ายอาร์ม ซึ่งตุ้มน้ำหนักอาจจะเป็นแบบหมุนเข้าหรือดันเข้าก็แล้วแต่รุ่นนั้นๆ 3. ปลดอาร์มออกจากที่พัก ใช้มือประคองเลื่อนอาร์มเข้าไปหาแป้นหมุน (Platter) ให้เลยริมนอกเข้าไปประมาณ 1 นิ้ว ระหว่างที่ใช้มือประคองไว้นี้ ให้ใช้มืออีกข้างค่อยๆหมุนหรือดันตุ้มน้ำหนักทีละน้อยๆ จนรู้สึกว่าอาร์มที่ประคองอยู่นั้นมีอาการลอยอยู่เหนือแป้นหมุน 4. ระหว่างที่ปรับตุ้มน้ำหนักเข้า-ออกทีละน้อยอยู่นั้น ให้ลองปล่อยอาร์มแล้วสังเกตดูเรื่อยๆจนกระทั่งอาร์มลอยขนานกับแป้นหมุน ปลายอาร์มไม่เชิดขึ้นหรือทิ่มลง แสดงว่าอาร์มอยู่ในสภาวะสมดุล (Fully Balance) เรียบร้อยแล้ว 5. ต่อจากนี้ให้กำหนด Scale น้ำหนักกดของหัวเข็มตามที่คู่มือระบุ ซึ่งปรกติจะให้น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1.5 - 3.0 กรัม ถ้าหัวเข็มที่ใช้ต้องการน้ำหนักกดมากกว่า Scale ที่มีบนเครื่อง อาจต้องติดน้ำหนักถ่วงเพิ่มอย่างที่ได้กล่าวในข้อ 1. ก็จะเพิ่มน้ำหนักได้ตามต้องการ 6. ในเบื้องต้นนี้ให้ตั้ง Anti-skating เท่ากับน้ำหนักกดของหัวเข็มสำหรับการเล่นแบบปรกติ (Dryplay) เครื่องเล่นที่มี Anti-skating ระบบสปริงมักจะเป็นปุ่มหมุนหรือเลื่อน ส่วนที่ใช้ตุ้มถ่วงนั้นการกำหนดร่องให้น้ำหนักต้องดูจากคู่มือของเครื่องเล่นรุ่นนั้นๆ
7.
อาจต้องทำการปรับตั้งซ้ำไปมา
2-3
ครั้งจนเข้าที่ดีแล้ว
สุดท้ายให้นำแผ่นเสียงที่คุ้นเคยมาเล่น
ถ้ารู้สึกว่าเสียงบางเกินไปให้เพิ่มน้ำหนักกด
ถ้าเสียงทึบเกินไปให้ลดน้ำหนักกดลง
ให้ปรับทีละน้อยครั้งละประมาณ
0.25 กรัม
แล้วอย่าลืมปรับ
Anti-skating
ตามด้วยทุกครั้ง
Static Method ใช้กับเครื่องเล่นที่มี Scale บนตุ้มน้ำหนักซึ่งมักเป็นเครื่องเล่น DJ เช่น Technics SL 1200 mk II 1. ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 1. ของการปรับตั้งแบบ Vernier 2. หลังจากติดตั้งหัวเข็มบน Headshell และปรับตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำอาร์มเข้าที่พักแล้วล๊อคไม่ให้ขยับ นำตุ้มน้ำหนักติดท้ายอาร์มโดยให้ด้าน Scale ตัวเลขหันไปทางหัวเข็ม 3. ปลดอาร์มออกจากที่พักแล้วใช้มือประคองเลื่อนอาร์มเข้าไปหาแป้นหมุน (Platter) ให้เลยขอบนอกเข้าไปประมาณ 1 นิ้ว ระหว่างที่ใช้มือประคองไว้นี้ ให้ใช้มืออีกข้างหนึ่งค่อยๆหมุนหรือดันตุ้มน้ำหนักทีละน้อยๆ จนรู้สึกว่าอาร์มที่ประคองอยู่นั้นมีอาการลอยอยู่เหนือแป้นหมุน 4. ระหว่างที่ปรับตุ้มน้ำหนักเข้า-ออกทีละน้อยอยู่นั้น ให้ลองปล่อยอาร์มแล้วสังเกตดูเรื่อยๆจนกระทั่งอาร์มลอยขนานกับแป้นหมุน ปลายอาร์มไม่เชิดขึ้นหรือทิ่มลง แสดงว่าอาร์มอยู่ในสภาวะสมดุล (Fully Balance) เรียบร้อยแล้ว 5. ให้หมุนแหวน Scale ตัวเลขแสดงน้ำหนักกดของหัวเข็มไปที่ 0 ต่อจากตรงนี้จึงหมุนตุ้มน้ำหนักทั้งตัวให้ Scale กำหนดน้ำหนักไปที่น้ำหนักที่ต้องการ ถ้าหัวเข็มที่ใช้ต้องการน้ำหนักกดมากกว่า Scale ที่มีบนเครื่องเล่นก็ต้องติดน้ำหนักถ่วงเพิ่ม 6. ในเบื้องต้นนี้ให้ตั้ง Anti-skating เท่ากับน้ำหนักกดของหัวเข็มสำหรับการเล่นแบบปรกติ (Dry play) 7. อาจต้องทำการปรับตั้งซ้ำไปมา 2-3 ครั้งจนเข้าที่ดีแล้ว สุดท้ายให้นำแผ่นเสียงที่คุ้นเคยมาเล่น ถ้ารู้สึกว่าเสียงบางเกินไปให้เพิ่มน้ำหนักกด ถ้าเสียงทึบเกินไปให้ลดน้ำหนักกดลง ให้ปรับทีละน้อยครั้งละประมาณ 0.25 กรัม แล้วอย่าลืมปรับ Anti-skating ตามด้วยทุกครั้ง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทุกท่านสามารถลงมือได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ เพียงไม่กี่ครั้งก็จะเกิดความชำนาญ และจะเป็นเรื่องที่สนุกสนานสำหรับการเล่นแผ่นเสียง REMARK :
-
ถ้าเป็นการปรับตั้งอาร์มในการเล่นแบบ
Scratch
หรือการถูแผ่น
Anti-skating จะต้องตั้งไว้ที่ 0
-
หลังจากการเคลื่อนย้ายเครื่องเล่นแผ่นเสียง
จะต้องทำการปรับตั้งอาร์มทุกครั้ง - หัวเข็มแบบ DJ จะใช้น้ำหนักกดอยู่ประมาณ 3-5 กรัม - น้ำหนักกดของหัวเข็มมาก ปลายเข็มสึกหรอเร็วและแผ่นสึกหรอมาก แต่ได้เนื้อเสียงหนา - น้ำหนักกดของหัวเข็มน้อย ปลายเข็มสึกหรอช้าและแผ่นสึกหรอน้อย แต่ได้เสียงที่บางกว่า - ต้องถอดครอบหัวเข็มออกทุกครั้ง (สำหรับแบบที่ไม่ติดกับหัวเข็ม) เมื่อตั้งน้ำหนักหัวเข็ม |
Vinyl Club The New Player Things about TT Tonearm Setup Nature of Tonearm The Cartridge Mat and Clamp LP Tips Reviews TS Audio PH1 NAD PP1 VCL RB250 Incognito Viola PH1 PHR Speaker ZA-D23 Aurora MKII LP Shop Origin Live Rega ZA Isokinetik ASR TT Accessories Audio Equipment Acoustic Room Treatment L.O.B. BassTraps Gallery His Master's Voice Friend's TT TT Collection Services Second Hand Write to us Vinyl Forum
Send mail to
musicfountain@yahoo.com with
questions or comments about this web site.
|