T h e   f i r s t   w e b s i t e   f o r   v i n y l   l o v e r s   i n   T h a i l a n d

                                                                                                

                       

HOME                           

Vinyl Club

The New Player

Things about TT

Tonearm Setup

Nature of Tonearm

The Cartridge

Mat and Clamp

LP Tips

 

Reviews

Origin Live Ultra

TS Audio PH1

NAD PP1

VCL

RB250 Incognito

Viola PH1

PHR Speaker

ZA-D23

Aurora MKII

 

LP Shop

 

 

 

 

 

 

TT Accessories

Audio Equipment

 

Acoustic

Room Treatment

L.O.B. BassTraps

 

Gallery

His Master's Voice

Friend's TT

TT Collection

 

Services

Second Hand

Write to us

Vinyl Forum

 

Opus3 records

Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12

Hercules II Installation

 

Tritonix Record

Cleaning Fluid

น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี

ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด

แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี

 

 

Accapted

 

 

 

 

Room Treatment

ขอแนะนำงานออกแบบห้องฟังเพลงห้องแรก  ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ ร.อ. วันชาติ  นวะบุศย์  สถาปนิกตกแต่งภายใน สนใจติดต่อ ที่หมายเลข 081-373-4798


Owner Requirement

เนื่องจากเจ้าของบ้านเป็นนักฟังเพลง (ไม่ใช่ฟังเครื่อง) และมีรสนิยมที่ดี  จึงมีความต้องการห้องฟังขนาดเล็กที่ไม่มีการวางเครื่องเสียงและอุปกรณ์ Acoustic Treatment ให้ดูรกรุงรังเหมือนภาพในหนังสือ  ดังนั้นจึงได้ขอให้สถาปนิกคำนึงถึงความสวยงามและ Acoustic ในอัตราส่วน 50/50  เสียงดีแต่ไม่สวยไม่เอา  สวยแต่เสียงแย่ก็รับไม่ได้  

 

การออกแบบให้ Neat & Tidy ของห้องที่ไม่มีเครื่องเสียงและอุปกรณ์ให้รกรุงรัง

Designer  Concept

สถาปนิกจึงจำเป็นต้องซ่อนอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกชิ้นใน Cabinet ซึ่งต้องคำนึงถึงการระบายความร้อนด้านหลังและการ Damping ชั้นวางให้มั่นคงด้วยขนาดของโครงตู้ที่สูงกว่ามาตรฐานถึง 2 เท่า  รวมถึงโครงสร้างของผนังและเพดานที่ต้องเพิ่มโครงเคร่ามากกว่างานตกแต่งปรกติทั่วไป  ตลอดจนการป้องกันเสียงที่จะเล็ดลอดเข้ามา / ออกไปจากห้อง  จึงต้องมีการใช้ Microfibre แบบหนาพิเศษสอดไส้ในผนังและเพดานทั้งหมดและใช้หลักการดูดซับเสียงในการควบคุมการสะท้อนของเสียงในห้อง  สถาปนิกจึงตกแต่งผนังทุกด้านด้วยการบุฟองน้ำชนิด Opened Cell หุ้มผ้าเพดานมีการตกแต่งลวดลายให้เป็น Texture และทำเป็นหลุมฝ้าลดระดับ  เพื่อให้ทำหน้าที่เป็น Diffuser และงานตกแต่งไปในตัว  อีกทั้งพื้นห้องก็ได้ปูพื้นไม้เข้าลิ้นหนา 1" ปูทับด้วยพรม Floor Tile อีกชั้นหนึ่งด้วย   ส่วนโทนสีของห้องได้กำหนดให้เป็นโทนสีที่ให้ความรู้สึก Lively ตามรสนิยมการฟังเพลงของเจ้าของบ้าน  สุดท้ายก็ต้องไม่ลืมที่จะวางระบบไฟฟ้าและ Ground เฉพาะภายในห้องนี้ใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ได้กำลังไฟอย่างมีคุณภาพเต็มที่จริงๆ

 

 

การซ่อนเครื่องเสียงไว้ใน Cabinet ที่เรียบร้อยสวยงาม 

Test Run

ผลการทดลองฟังของสถาปนิกและเจ้าของบ้านมีความเห็นตรงกันว่าพอใจในสิ่งที่ได้รับจากการ Trade Off ระหว่างสวยกับเสียง  แม้ว่าในเรื่องของมิติ หรือ Sound Stage จะด้อยไปเล็กน้อย  เนื่องจากสัดส่วนของห้องไม่อำนวยตั้งแต่แรก  แต่ก็ได้ชดเชยด้วยความสวยงามของห้องและน้ำเสียงของ System ที่สมบูรณ์มากๆ  อีกทั้งเจ้าของบ้านต้องการฟังเพลงในลักษณะที่เป็น Ambient มากกว่าเน้นในเรื่องของมิติและ Sound Stage ที่จำลองมาด้วยเทคนิคของการบันทึกเสียง  ที่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงใน Live Performance นับได้ว่าเป็นผู้ที่เข้าใจในการฟังเพลงอย่างมากคนหนึ่งทีเดียว

 

   

โทนสีที่ให้ความรู้สึกสดใสมีชีวิตชีวา

ท่านสามารถปรึกษาปัญหาด้าน Acoustic และ การใช้อุปกรณ์ Room Treatment กับสถาปนิกได้โดยตรง หรือที่ musicfountain@yahoo.com   เรามีความยินดีที่จะให้คำแนะนำแบบสถาปนิกที่รักการฟังเพลงให้กับทุกท่าน

 


 

ห้องฟังเพลงแบบหารไม่ลงตัว

 

รูปแสดง  ห้องฟังเพลงที่ใช้หลักการหารไม่ลงตัว

เริ่มจากห้องนี้ เดิมเป็นดาดฟ้าพื้นปูนเรียบขัดมัน  ก็คิดจะทำเป็นห้องฟังเพลงขึ้นมา  จึงได้เริ่มออกแบบกันตั้งแต่การกำหนดขนาดของห้องเลย  โดยกำหนดขนาดของห้องนี้ ให้เป็นห้องขนาดปานกลางค่อนข้างใหญ่เพื่อให้เล่นลำโพงใหญ่ได้  โดยกำหนดสัดส่วนของห้องด้วยหลักการ "หารไม่ลงตัว" ก็คือ ความกว้าง x ยาว x สูง ไม่สามารถหารลงตัวด้วยตัวเลขเดียวกันได้ เช่น 4.00 x 6.00 x 2.40 ม.  ซึ่งจะสามารถหารด้วย 2 ได้ลงตัวทั้ง 3 ค่า แต่ 4.00 x 7.00 x 2.70 ม. จะไม่มีตัวเลขใดที่มาหารได้ลงตัวได้เลย  เหตุที่ใช้หลักการนี้ก็เพื่อ หลีกเลี่ยงการเกิดคลื่นเสริมและ Standing Wave นั่นเอง  ผู้ออกแบบได้กำหนดขนาดของห้องนี้เท่ากับ 4.50 x 7.00 x 2.80 ม. เมื่อกำหนดขนาดของห้องแล้ว ก็มาจัดแปลนภายในกัน 

อันดับแรกก็ต้องหาที่วางลำโพงก่อน  เพราะตำแหน่งที่ตั้งของลำโพงจะมีผลต่อเสียงมากกว่าปัจจัยอื่นๆ เครื่องเสียงราคาเรือนแสน อาจจะเปล่งเสียงให้คุณแค่หมื่นเดียว  ก็ด้วยเหตุที่ตั้งลำโพงและสภาพห้องนี่แหละ  อันดับต่อมาเป็นตำแหน่งที่นั่งฟัง  ที่วางชุดเครื่องเสียง  ที่เก็บแผ่น  ตำแหน่งประตู  หน้าต่างและอื่นๆ  ผนังห้องก่ออิฐฉาบปูนเพื่อความมั่นคงแข็งแรง  สามารถเก็บเสียง และกันเสียงเข้า  เริ่มจากผนังหลังลำโพงทั้งสองข้างจะเอียงเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงมุมฉากอันจะก่อให้เกิด Standing Wave ได้  (บางคนใช้ Bass Trabs)  วัสดุเป็นโครงไม้กรุไม้อัด 10 มม.  บุฟองน้ำหุ้มผ้าสลับกับไม้สัก 2"x 2" ตีเว้นร่อง เพื่อให้เกิดเสียงสะท้อนแบบกระจาย  ส่วนที่เหลือเป็นโครงไม้กรุไม้อัด10 มม. ปิดด้วยแผ่นไม้คอร์กหนา 3 มม. วัสดุโดยรวมเป็นแบบสะท้อนเสียง 30% ซับเสียง 70%  หน้าต่างบานเลื่อนกระจกอลูมิเนียม ปิดม่านผ้า  พื้นปูพรมเต็มห้อง  เพดานทำเป็น หยักฟันปลาใหญ่ๆ กรุแผ่นอะคูสติค  ฝังไฟหลอดหรี่ได้  เพื่อสร้างบรรยากาศ  ผนังด้านยาวทั้งสองข้างเจาะช่องทำชั้นเก็บแผ่นซีดี  ส่วนนี้ช่วยสะท้อนเสียงด้วย ห้องฟังเพลงที่ดีไม่ควรซับเสียงทั้งหมด เพราะเสียงกังวานสดใสจะหายห้วนไปหมดกลายเป็น Deadroom  ห้องฟังเพลงที่ดีจะต้องมีความ Lively พอสมควรซึ่งสามารถทดสอบได้ด้วยการดีดนิ้วแล้วมีหางเสียงพอสมควร


 

Vinyl Club  The New Player   Things about TT   Tonearm Setup   Nature of Tonearm   The Cartridge   Mat and Clamp   LP Tips

Reviews  TS Audio PH1   NAD PP1   VCL   RB250 Incognito   Viola PH1   PHR Speaker  ZA-D23  Aurora MKII

LP Shop  Origin Live  Rega  ZA  Isokinetik  ASR  TT Accessories   Audio Equipment  

Acoustic  Room Treatment   L.O.B. BassTraps   

Gallery  His Master's Voice   Friend's TT   TT Collection

Services  Second Hand   Write to us   Vinyl Forum

   

Send mail to  musicfountain@yahoo.com  with questions or comments about this web site.
Copyright © 2003 Music Fountain
Last modified: 23/02/55