T h e f i r s t w e b s i t e f o r v i n y l l o v e r s i n T h a i l a n d
|
Vinyl Club
Reviews
LP Shop
Acoustic
Gallery
Services
Opus3 records Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12
Tritonix Record Cleaning Fluid น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี
Accapted
|
Nature of Pivoted Tonearms Pivoted Tonearm เป็นอาร์มแบบที่แพร่หลายที่สุดเพราะปรับตั้งง่ายและราคาย่อมเยา แต่โดยธรรมชาติของอาร์มแบบนี้จะมีลักษณะประจำตัวของมันเองที่ทำให้เกิดปัญหา เราจึงต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนจึงจะสามารถทำการปรับตั้ง (Setup) ได้ถูกต้อง Tracking Error Tracking Error เป็นปัญหาตามธรรมชาติของ Pivoted Tonearm และเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ว่าทำไมจึงต้องให้ความสำคัญในการปรับตั้งโทนอาร์ม จึงขอให้พิจารณาจากรูปภาพ ต่อไปนี้
ภาพแสดง มุมของหัวเข็มที่เปลี่ยนไปตามตำแหน่งของโทนอาร์ม ตามหลักกลศาสตร์ โทนอาร์มในอุดมคติจะต้องรักษาแนวและมุมของหัวเข็มที่ทำกับร่องแผ่นเสียง ให้มีค่าเท่ากันตั้งแต่ Track แรกจนถึง Track สุดท้าย โดยมุมที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดจากการลากเส้นสมมุติผ่านจุดศูนย์กลางของแผ่นเสียงทำมุมฉากกับหัวเข็ม ซึ่งการกัดร่องแผ่นเสียงนั้นจะใช้หัวกัดที่เดินเป็นเส้นตรงเช่นเดียวกันกับ Linear Tonearm จึงสามารถรักษาแนวและมุมของหัวกัดได้สม่ำเสมอเท่ากันตลอดทั้งแผ่น แต่สำหรับ Pivoted Tonearm ที่เดินในลักษณะวาดแขนเป็นเส้นโค้งนั้น จะทำให้แนวและมุมของหัวเข็มที่ริมแผ่น กลางแผ่น และในสุดของแผ่นมีค่าองศาของมุมแตกต่างกัน (ตามรูป) จึงทำให้เสียงจากหัวเข็มที่เดินตั้งแต่ริมนอกจนถึงริมในของแผ่นเสียงแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบโทนอาร์มให้มีระยะ Overhang เพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นดังกล่าว
ภาพแสดง มุม Offset และ Overhang ของหัวเข็ม ขอให้เรามาทำความรู้จักกับค่าปัจจัยสำคัญ (Parameter) 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโทนอาร์ม อันได้แก่ ระยะ Overhang มุม Offset และระยะระหว่าง Spindle ถึง Pivot ซึ่งทั้งหมดจะเป็นค่าที่มีความสัมพันธ์กันเสมอหากค่าใดค่าหนึ่งเปลี่ยนไปก็จะเป็นผลให้ค่าอื่นๆเปลี่ยนตามไปด้วย
ภาพแสดง การวัดระยะ Overhang จากปลายเข็ม Overhang คือ ความยาวที่วัดจากปลายเข็ม (Tip) ถึง จุดหมุนของโทนอาร์ม (Pivot) เปรียบเทียบกับระยะที่วัดจากจุดกึ่งกลางของ Platter ถึง จุดหมุนของโทนอาร์ม หรือเท่ากับ Effective Length - Distance between Spindle and Pivot = Overhang Offset Angle คือ มุมที่เส้นสมมุติของปลายหัวเข็มกระทำกับเส้นสมมุติที่ลากจากจุดหมุนของโทนอาร์ม Overhang vs Offset Angle คือ ระยะ Overhang จะต้องสัมพันธ์กับมุม Offset เสมอ ซึ่งโดยปรกติมุม Offset จะมีค่าที่ 20-21องศาและระยะ Overhang จะอยู่ที่ 14-15 มม. ถ้าหัวเข็มมีมุม Offset เท่ากับ 20 องศา มีระยะ Overhang เท่ากับ 14 มม. หัวเข็มจะมี Error เป็น 0 ในรัศมีของร่องแผ่นเสียงที่วัดจากจุดศูนย์กลางของแผ่นที่ระยะ 6.5 ซม.และ10 ซม.ตามลำดับ รัศมีทั้งสองแนวนี้เรียกว่า the zero Tracking Error radii ของแผ่นเสียง LP 12" นั่นเอง จะเห็นได้ว่าจาก Track แรกจนถึง Track สุดท้ายของแผ่นเสียงหนึ่งแผ่นที่เราเล่นนั้น จะได้เสียงดนตรีที่แตกต่างกันไปตาม Error ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมุมที่เปลี่ยนของโทนอาร์มแบบ Pivoted การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของกรณีเช่นนี้คือ ทำอย่างไรให้เสียงที่ได้จากแผ่นที่เราเล่นมีคุณภาพพอๆกันจากริมนอกสุดถึงริมในสุด การตั้งหัวเข็มให้ได้เสียงโดยเฉลี่ยเท่าๆกันทั้งแผ่นนั้น เราจำเป็นต้องใช้ Protractor Alignment Gauge ในการกำหนดระยะ Overhang และมุม Offset ดังที่กล่าว ซึ่งควรตั้งที่ตำแหน่งระยะ 6.5 ซม. ของแผ่น LP จึงจะทำให้เสียงดนตรีที่ได้จากริมแผ่นนอกสุดกับในสุดไม่แตกต่างกันมากนัก Skating เมื่อเรากำหนดแรงกดให้กับหัวเข็ม ขณะที่เล่นก็จะเกิดแรงเสียดทาน (Friction) ขึ้นด้วย ซึ่งตามหลักกลศาสตร์ทิศทางของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจะมีทิศของแรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง (Force Vector) ในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของสิ่งนั้นๆ แต่ทางเดินของหัวเข็มเมื่อทำการเล่นจะถูกดึงในลักษณะเป็นเส้นโค้งตามแนวร่องแผ่นเสียง ทิศทางของแรงที่เกิดขึ้นจึงไม่ผ่านไปยังจุดหมุนของโทนอาร์มทั้งหมด ทำให้เกิดทิศทางของแรงเสียดทานเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นแรงเสียดทานจากปลายเข็มตรงไปยังจุดหมุนของโทนอาร์ม ส่วนที่สองจะเป็นแรงทำมุมฉากกับแรงในส่วนแรก ทำให้เกิดแรงดึงหัวเข็มไถลเข้าหาศูนย์กลาง
ภาพแสดง การเกิดแรงดึงเข้าจุดศูนย์กลาง ถ้าปล่อยโดยไม่มีการแก้ปัญหาแรงดึงเข้าศูนย์กลางอย่างถูกต้องแล้ว แรงกดหัวเข็มบนผนังร่องแผ่นเสียงทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน ทำให้เสียงที่มี Dynamic มากๆผิดเพี้ยนและหัวเข็มสึกหรอมากขึ้น การออกแบบให้โทนอาร์มมี Offset และ Anti-Skating จะชดเชยให้แรงกดทั้งสองข้างเท่ากันแต่ปัญหาคือว่า เราจะให้ค่า Anti-Skating เท่าไรจึงจะเหมาะสมเพราะแม้ว่าส่วนมากจะมีการกำหนดค่าไว้ให้แล้ว แต่ก็ต้องพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆร่วมด้วย เช่น การออกแบบโทนอาร์ม ลักษณะของหัวเข็ม ลักษณะของแผ่นเสียงและร่องแผ่นเสียง ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก อีกทั้งแผ่นทดสอบ (Test Record) ซึ่งมักจะนิยมใช้ค่าความถี่เสียงที่ 300Hz ก็ไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนครอบคลุมทุกย่านความถี่เสียง เพราะการทดสอบเสียงจากแผ่นทดสอบในย่านความถี่เดียวนั้นไม่เหมือนกับเสียงเพลง ดังนั้นวิธีที่ง่ายๆสำหรับการกำหนดค่า Anti-Skating คือ ให้กำหนดเท่ากับแรงกดของหัวเข็มเป็นอันดับแรก แล้วฟังด้วยประสบการณ์จากแผ่นเสียงที่คุ้นเคยพร้อมสังเกตเสียงดนตรีจากลำโพงทั้ง 2 ข้าง ซึ่งถ้าสัญญานเสียงข้างซ้ายผิดเพี้ยนหรือตกร่อง (Mistrack) ให้ลด Anti-Skating ในทางกลับกันถ้าสัญญานเสียงข้างขวาผิดเพี้ยนก็ให้เพิ่ม เมื่อเป็นเช่นนี้ นักออกแบบโทนอาร์มจึงมีความเห็นว่า Pivoted Tonearm จะต้องมีปัญหาของ Anti-Skating ที่ไม่เท่ากันตลอดทั้งแผ่น การแก้ปัญหาจำเป็นต้องใช้ลักษณะของการชดเชยจุดดีจุดด้อย (Compromised) ซึ่งไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงได้พัฒนา Linear Tonearm ขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะ Linear Tonearm ไม่มีอาการ Skating ของโทนอาร์มเกิดขึ้นเลยแต่ก็มีปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนที่ของโทนอาร์มให้มีความเร็วที่เหมาะสมขึ้นแทน The Bearing ส่วนประกอบที่สำคัญของ Pivoted Tonearm อีกอย่างหนึ่งคือ ชุดลูกปืน (Bearing) ของอาร์ม ซึ่งจะต้องมีความฝืด (Friction) น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะถ้าในขณะที่หัวเข็มเคลื่อนตัวไปตามร่องแผ่นเสียงแต่โทนอาร์มมีแรงฝืดต้านการวาดอาร์ม มันจะทำให้เกิดแรงดึงให้หัวเข็มกินผนังของร่องแผ่นเสียงด้านหนึ่งมากเกินไปจนเกิดการข้ามร่องได้
ภาพแสดง จุดหมุนของลูกปืนโทนอาร์ม การตั้งให้ลูกปืนหลวมขึ้นเล็กน้อยจะช่วยให้อาร์มวาดวงได้คล่องตัวมากกว่าเดิม แต่ก็อาจจะทำให้เกิดการขยับ (Chatter) ตัวของโทนอาร์ม เกิดขึ้นซึ่งก็เป็นปัญหาที่แย่พอกัน ดังนั้นการปรับตั้งในจุดนี้ก็คงต้องใช้วิธีการเฉลี่ยการปรับตั้ง (Trade Off) ให้ไม่มากไม่น้อยเกินไป จากที่ได้กล่าวถึงข้อปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของ Pivoted Tonearm มาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการปรับตั้งในจุดใดๆก็ตามจะมีผลสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับจุดอื่นๆด้วยเสมอ ไล่มาตั้งแต่ Stylus, Cartridge, Headshell, Tonearm และ Bearing อีกทั้งไม่มีวิธีการใดจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดได้ 100% แต่ต้องใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการปรับตั้งให้เกิดการชดเชยจุดดีจุดด้อย (Compensate) ให้ทุกจุดได้ข้อดีอย่างทั่วถึงกัน (Trade Off) โดยใช้ประสบการณ์ของผู้เล่นมากกว่าค่ากำหนดทางเทคนิคซึ่งเป็นเพียงการให้แนวทางเบื้องต้นเท่านั้น |
Vinyl Club The New Player Things about TT Tonearm Setup Nature of Tonearm The Cartridge Mat and Clamp LP Tips Reviews TS Audio PH1 NAD PP1 VCL RB250 Incognito Viola PH1 PHR Speaker ZA-D23 Aurora MKII LP Shop Origin Live Rega ZA Isokinetik ASR TT Accessories Audio Equipment Acoustic Room Treatment L.O.B. BassTraps Gallery His Master's Voice Friend's TT TT Collection Services Second Hand Write to us Vinyl Forum
Send mail to
musicfountain@yahoo.com with
questions or comments about this web site.
|