T h e f i r s t w e b s i t e f o r v i n y l l o v e r s i n T h a i l a n d
|
Vinyl Club
Reviews
LP Shop
Acoustic
Gallery
Services
Opus3 records Hercules II Power Supply Upgrade for Linn Sondek LP12
Tritonix Record Cleaning Fluid น้ำยาเช็ดแผ่นเสียง คุณภาพดี ราคาประหยัด ซื้อ 2 ขวด แถมผ้าเช็ดแผ่น 1 ผืน ฟรีี
Accapted
|
ReviewsPHR Speaker Worth to hear Thai modification. 1/2
PHR Speaker DEMO Introduction เดิมนั้นผมตั้งใจไว้ว่าจะนำเสนอผลการทดลองฟังเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับแผ่นเสียงโดยตรงเพียงอย่างเดียว แต่ก็อดไม่ได้ที่จะขอแนะนำลำโพงตัวเล็กๆคู่หนึ่งซึ่ง คุณสารัตน์ สุขสมทิพย์ ได้อุตส่าห์ยกมาให้ผมลองฟังเล่นๆตั้งแต่ยังเป็น DEMO ก่อนวางตลาด ซึ่งบัดนี้คงได้วางตลาดไปแล้วพักใหญ่ อีกทั้งน่าจะมีผู้วิจารณ์ท่านอื่นๆพูดถึงลำโพงคู่นี้ไปบ้างแล้วด้วย แต่ก็คงไม่เป็นไรถ้าผมจะขอพูดถึงลำโพงคู่นี้ในลักษณะของการนำความรู้สึกของคนชอบฟังเพลงมาเล่าสู่กันฟังแบบไม่ใช่การวิจารณ์ สำหรับลำโพงคู่นี้ คุณสารัตน์ฯได้แจ้งให้ผมทราบถึงความเป็นมาของมันว่าเป็นลำโพง OEM จากโรงงานในมาเลเซียที่ทำส่งออกเพื่อติดยี่ห้อเครื่องเสียงชื่อดังของญี่ปุ่นยี่ห้อหนึ่ง ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าตัวตู้จะต้องได้มาตรฐานเหมือนๆกันทุกตัวอย่างแน่นอนแต่ควรถือว่าลำโพง PHR รุ่นนี้เป็นการ modified ไม่ใช่การผลิตจาก Viola หรือจากตัวคุณสารัตน์ฯเอง ซึ่งการ modify ตามที่ได้รับแจ้งนั้นมีการทำผิวตู้ลำโพงเป็นสีดำมันเปียโน เปลี่ยนขั้วลำโพงให้เป็นแบบขันแน่นและสามารถเสียบขั้ว banana ได้ ปรับปรุง crossover ตลอดจนบุภายในเพื่อ acoustic ของตู้ที่สมบูรณ์เต็มที่ ส่วนการทดลองฟังลำโพงคู่นี้นั้นผมได้ใช้สถานที่ 2 แห่งด้วยกัน แห่งแรกคือที่บ้านพักส่วนตัวของผมเองซึ่งจัดวางแบบตามพื้นที่จะอำนวยให้ได้เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างจำกัดแต่ก็ได้ตามสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั่วๆไป แห่งที่สองนั้นเป็นการทดลองฟังที่ห้องฟังของ "ร้านเรือนงาม" ซึ่งห้องฟังแห่งนี้ได้รับคำชมจากผู้ออกแบบเครื่องเสียง ALMARO ที่ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเยี่ยมร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเมื่อช่วงวันงาน BAV SHOW 2005 ที่ผ่านมา ว่าเป็นห้องฟังที่มีค่า Resonance จากการวัดค่าด้วยเครื่องมือต่ำดีมากอีกทั้งยังได้ให้คำชมกับน้ำเสียงของลำโพงคู่นี้อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรการฟังเพื่อพิจารณาลำโพงคู่หนึ่งนั้นเราคงต้องฟังด้วยตัวเอง ส่วนความเห็นของผู้อื่นและค่าที่วัดได้จากเครื่องมือนั้นคงเป็นสิ่งที่นำมาเพื่อประกอบการพิจารณาอีกส่วนหนึ่งเท่านั้น Appearance
ด้านหน้า(ใส่หน้ากากครอบ)และด้านหลัง หลังจากที่ได้แกะกล่องนำลำโพง PHR คู่นี้ออกมาพิจารณาก่อนต่อพ่วงเข้ากับ system ที่มี มันทำให้ผมนึกถึงลำโพง ProAc 50 ขึ้นมาทันที เนื่องจากขนาดที่กระทัดรัดใกล้เคียงกันแต่ก็ไม่ได้หวังว่าเสียงจะเหมือนกันแต่อย่างใดเพียงแต่มันดูดีคล้ายๆกันเท่านั้น สำรวจดูตู้ลำโพงโดยรวมๆแล้วผมมีข้อติกับความเรียบร้อยของการทำสีดำเปียโนว่าควรจะทำผิวเป็นวีเนียร์ลายไม้จะดีกว่าเพราะสีดำเปียโนนี้เป็นสีที่ทำให้ดีได้ยากมาก เห็นตำหนิที่เกิดขึ้นเล็กๆน้อยๆได้ง่ายและผู้ใช้ก็ดูแลรักษาลำบากอีกด้วย แม้กระทั่งลำโพงราคาระดับหลายหมื่นก็ยังไม่สามารถเก็บรอยตำหนิบนตู้สีดำเปียโนได้ทั้งหมด แต่ก็คงเลือกไม่ได้เพราะลำโพง PHR รุ่นนี้มีเพียงสีเดียวให้เลือกเท่านั้น ลำโพง PHR ตัวนี้เป็นลำโพง 2 ทาง Bass reflex พอร์ทเดี่ยวออกด้านหลัง tweeter เป็นชนิดโดมผ้า 1" woofer เป็นชนิดกระดาษเคลือบ 4" วางตำแหน่ง driver ตามแกนแนวดิ่ง ความไว 90 dB ที่ 6 โอห์ม ใช้ได้กับแอมป์ตั้งแต่ 7-80 watts ขนาดตัวตู้ 0.15 x 0.26 x 0.25 ม. ขั้วลำโพงเป็นชนิด single wire สามารถใช้ได้ทั้งขั้วก้ามปูหรือ banana ได้สะดวก ในความเห็นของผมนั้น PHR เป็นลำโพงที่มีหน้าตาดูดีตัวหนึ่งทีเดียว ส่วนเรื่องความประณีตนั้นคงอยู่ระดับ"พอรับได้"ครับ
ขั้วสายลำโพงที่ดูสวยงามแข็งแรงและใช้งานสะดวก Sound ต้องขอย้ำก่อนรายงานการทดลองฟังลำโพงคู่นี้ว่าเรากำลังพูดถึงลำโพงราคา 8,500 บาท ดังนั้นการคาดหวังสิ่งมหัศจรรย์มากกว่าที่ควรนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักแต่ก็สามารถเป็นไปได้ เรื่องการทดลองฟังนั้นผมได้ทำการฟังลำโพงคู่นี้ในสถานที่แตกต่างกัน 2 แห่งตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งจะขอเริ่มที่บ้านพักส่วนตัวของผมเองเป็นอันดับแรก ลำโพงคู่นี้ทางคุณสารัตน์ฯได้แนะนำว่าควรจะให้เวลา break-in อย่างน้อยประมาณ 50-60 ชั่วโมง คิดคร่าวๆก็คือเปิดฟังวันละ 2 ชั่วโมงเป็นเวลาหนึ่งเดือนก็คงจะใช้ได้แล้ว ในเดือนแรกผมจึงเปิดฟังแบบผ่านๆไม่ได้ตั้งใจฟังอะไรแต่ก็สามารถรับรู้ได้ว่าลำโพงคู่นี้เสียงออกแนวค่อนข้างสดดีทีเดียว เมื่อเข้าที่ดีแล้วผมเริ่มฟังเอาเรื่องกับ PHR คู่นี้กับแผ่นที่ถือได้ว่าสามารถนำมาเป็นแผ่นอ้างอิงได้เป็นอย่างดี คือ Ein Straussfest - Cincinnati Pops Orchestra เพื่อสังเกตุว่าลำโพงสามารถตอบสนองความถี่ย่านกลางต่ำและต่ำของดนตรีที่มี dynamic สูงๆอย่างเพลงประเภท Polka และ March ได้ดีเพียงใด ตลอดจนความถี่ย่านสูงของเครื่องเคาะอย่าง Triangle ที่จะใช้กับดนตรีคลาสสิค จากเพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้ายลำโพงคู่นี้ได้แสดงประสิทธิภาพได้ดีพอใช้ เสียงย่านกลางต่ำและต่ำสามารถตอบสนองเสียงของกลอง Timpani ได้ชัดเจนแม้จะเป็นเพียงเสียง background ที่ค่อนข้างเบาในเพลง On The Beautiful Blue Danube ซึ่งทำให้คงอรรถรสของเพลงได้อย่างครบถ้วน และเสียงย่านสูงของ Triangle ในเพลง Feuerfest Polka นั้นสามารถได้ยินในลักษณะลอยออกมาและทอดไกลอย่างสนุกสนานทีเดียว ส่วนข้อด้อยของ PHR คู่นี้ที่ชัดเจนคือเมื่อเพลงมีการโหมอย่างรุนแรงจะแสดงอาการ "เอาไม่ค่อยอยู่" ซึ่งเป็นธรรมดาของลำโพงเล็กๆราคาถูกทั่วไป เป็นอันว่าเรื่องน้ำเสียงนั้น PHR น่าจะผ่านไปได้ส่วนสรรพคุณด้านอื่นๆ เช่น ความมีมิติและตำแหน่งชิ้นดนตรีต่างๆ ผมได้นำลำโพงคู่นี้ไปทดลองฟังที่ "ร้านเรือนงาม" เพื่อให้ได้ความชัดเจนในด้าน accoustic ให้มากที่สุดเนื่องจากที่นั่นมีสภาพการรับฟังที่สมบูรณ์กว่า ที่ "ร้านเรือนงาม" ผมจัดลำโพงให้ห่างกัน 1.60 ม. หันหน้าตรง ห่างจากผนังหลัง 1.00 ม. ห่างจากผนังข้าง 1.10 ม. และจุดนั่งฟังห่าง 2.00 ม. ซึ่งต่างจากที่คู่มือการใช้แนะนำไว้เล็กน้อย ผลการทดลองฟังปรากฏว่าเสียงบางลงแต่มิติและตำแหน่งชิ้นของเครื่องดนตรีมีความชัดเจนดีขึ้นมาก สาเหตุคงเนื่องจาก system และอุปกรณ์ร่วมที่แตกต่างกันโดยเฉพาะขาตั้งลำโพง ซึ่งการทดลองฟังครั้งแรกใช้ขาตั้งเหล็กของ ProAc 1sc ครั้งที่สองใช้ขาตั้งไม้ MDF ของ PHR เอง อีกทั้ง system ในการทดลองฟังครั้งแรกนั้นมีคุณภาพสูงกว่าครั้งที่สองมาก แต่สภาพ accoustic ที่ดี ของ "ร้านเรือนงาม" แห่งนี้ก็สามารถทำให้ลำโพง PHR แสดงประสิทธิภาพได้อย่างน่าทึ่งทีเดียวทั้งในเรื่องของมิติและตำแหน่งของเครื่องดนตรี แสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องเสียงธรรมดาๆในห้องที่มี accoustic ที่ดีนั้นดีกว่าไปลงทุนมากๆให้กับเครื่องเพียงอย่างเดียว การทดลองฟังครั้งที่สองนี้ผมได้นำแผ่นชุด Nightclub - Patricia Barber แผ่นที่ผมชอบมากที่สุดแผ่นหนึ่งมาเพื่อทดลองฟังเสียงร้อง PHR ก็สามารถถ่ายทอดเสียงร้องได้อย่างชัดเจน ความเป็นมิติและตำแหน่งเครื่องดนตรีมีตัวตนเสียงหลุดจากลำโพงอย่างน่าพอใจ การทดลองฟังโดยรวมดีขึ้นทุกๆด้านเมื่อเล่นกับเพลงประเภท Jazz ที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้น
ห้องฟังของ"ร้านเรือนงาม" ชั้น2 อาคารเมืองไทยภัทร ถ.รัชดาภิเษก ใกล้สี่แยกสุทธิสาร Final ผมจะไม่บอกว่าลำโพง PHR คู่นี้เป็นลำโพงที่ดีที่สุดในระดับราคาไม่เกิน 10,000 บาท เนื่องจากในท้องตลาดทุกวันนี้มีลำโพงหน้าตาสวยๆเสียงดีๆราคาระดับนี้ให้เลือกนับไม่ถ้วนโดยเฉพาะลำโพงยี่ห้อฝรั่งทำในจีน แต่ผมกล้าพูดได้ว่าลำโพง PHR คู่นี้มีเสียงที่ดีสมราคาซึ่งเป็นการขายฝีมือการ modify ของนักประดิษฐ์ไทยที่ทำได้ดี ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจลำโพง PHR นี้ คือ เป็นลำโพงที่เหมาะสำหรับเพลงประเภทร้องหรือประเภท Jazz น้อยชิ้นในห้องฟังขนาดเล็กซึ่งจะให้เสียงที่อิ่มเต็มที่ อีกทั้งหากมีเวลาผมอยากเชิญชวนให้ไปลองฟังกันเล่นๆที่ "ร้านเรือนงาม" ชั้น2 อาคารเมืองไทยภัทร ถ.รัชดาภิเษก ใกล้สี่แยกสุทธิสาร รับรองว่าไม่ใช่เป็นการเสียเวลาอย่างแน่นอน 1/2 จุดเด่น - เสียงสดฟังสนุก จุดด้อย - การทำสีตัวตู้ยังมีข้อตำหนิอยู่บ้าง Systems ชุดที่ 1 EAR 834 Push/Pull Pure Class A Integrated Amp. (50W./CH) Luxman L507s Integrated Amp. (100W./CH) VPI HW-19 jr. / RB250 Incognito Tonearm Grado Prestige Green Cartridge Viola PH-1 Phono Stage TOTEM Rainmaker Speaker Vampire CC-1 Interconnect Cable Transparent Music Link Speaker Cable ชุดที่ 2 Cambridge Audio A300 V2 Integrated Amp. (60W./CH) VPI HW-19 jr. / RB250 Incognito Tonearm Grado Prestige Green Cartridge Viola PH-1 Phono Stage Merrex Copper1 Interconnect Cable Accoustic Zen Speaker Cable |
Vinyl Club The New Player Things about TT Tonearm Setup Nature of Tonearm The Cartridge Mat and Clamp LP Tips Reviews TS Audio PH1 NAD PP1 VCL RB250 Incognito Viola PH1 PHR Speaker ZA-D23 Aurora MKII LP Shop Origin Live Rega ZA Isokinetik ASR TT Accessories Audio Equipment Acoustic Room Treatment L.O.B. BassTraps Gallery His Master's Voice Friend's TT TT Collection Services Second Hand Write to us Vinyl Forum
Send mail to
musicfountain@yahoo.com with
questions or comments about this web site.
|